วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา


การแนะสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจในตัวจังหวัดสงขลา

อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
1.ทะเลสาบสงขลา
2.เกาะยอ
3.หาดทรายแก้ว
4.ศาลหลักเมือง
5.แหลมสมิหลา
6.สะพานติณสูลานนท์
7.แหลมสนอ่อน
8.เขาตังกวน
9.เขาน้อย
__________________________________________________________________________________________________
วีดีโอนำเสนอ


ทะเลสาบสงขลา                                                                                                                             


ประวัติและความเป็นมาของทะเลสาบสงขลา


ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็มอยู่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์อยู่ตลอดเวลา ดินแดนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันคือ พื้นที่ของจังหวัดพัทลุง อำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่และอำเภอรัตภูมิ จากหลักฐานของแผนที่ของชาวต่างประเทศ พื้นที่บริเวณนี้ พ.ศ. 2000 มีลักษณะแตกต่างจากปัจจุบันมากพอสมควร โดยเฉพาะบริเวณอำเภอหัวไทร อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร บริเวณนี้แต่เดิมเป็นเกาะสองเกาะ คือ พื้นที่ในส่วนอำเภอหัวไทรไปจนถึงอำเภอสิงหนคร ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ ส่วนเกาะขนาดเล็กก็คือ "เกาะใหญ่" ในปัจจุบันอันเกิดจากระดับน้ำที่ลดลงทำให้พื้นที่ดินเดิมใต้ผิวน้ำโผล่ขึ้นมาเป็นภูเขาเตี้ยๆ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเอาทรายทะเลมาทับถมทางด้านซีกตะวันออกของภูเขา ทำให้เกิดสันทรายงอกออกไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ซีกตะวันตกของภูเขาก็เกิดดินตะกอนที่ลำน้ำสายสั้น ๆ คือ คลองนางเรียม คลองปากประ คลองลำปำ คลองท่าเดื่อ คลองอู่ตะเภา และแม่น้ำสายยาวที่พาดจากจังหวัดสตูลไหลออกทะเลที่บริเวณทะเลสาบตอน
ในปัจจุบันทำให้แผ่นดินทั้งสองด้านงอกออกไปเรื่อยๆจนกลายเป็นเกาะขึ้น ซึ่งภายหลังเกาะนี้ก็ได้กลายเป็นที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเป็นชุมชนหนาแน่นเพราะมีความเหมาะสมที่จะเป็นท่าเรือ และสามารถกำบังลมได้เป็นอย่างดี แม้แผ่นดินทางด้านทิศเหนือจะงอกออกไปจนติดเป็นแผ่นดินเดียวกันแล้ว บริเวณเกาะซึ่งพัฒนาเป็นแหลมก็ยังคงเป็นชุมชนที่หนาแน่นยิ่งขึ้น เมื่อน้ำในทะเลสาบตอนในเปลี่ยนเป็นน้ำจืด เพราะได้รับอิทธิพลจากน้ำในลำคลองที่ได้กล่าวถึงข้างต้นมากกว่าน้ำทะเลพื้นที่โดยรอบของทะเลสาบจึงเริ่มกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากบริเวณนี้มีดินตะกอนทับถมกันมากซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก จึงกลายเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันตกหรือพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน ขณะเดียวกันทะเลสาบที่เกิดขึ้นก็เป็นแหล่งของสัตว์น้ำ
นานาชนิดด้วย ส่วนบริเวณตอนบนหรือแถบต้นน้ำเชิงเขาก็เป็นเขตป่าที่มีป่าดงดิบขึ้นปกคลุมหนาแน่น จึงมีผลผลิตจากป่าจำนวนมาก เช่น หวาย ไม้ไผ่ สมุนไพร งาช้าง เครื่องหนัง เขาสัตว์ และของป่า อื่น ๆ ซึ่งของพวกนี้พ่อค้าชาวจีนและอินเดียต้องการมาก พ่อค้าชาวจีนและอินเดียจึงเดินทางเข้ามาค้าขายและนำเอาอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ในบริเวณคาบสมุทรมลายูและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้







เกาะยอ                                                                                                                                       


เกาะยอ เป็นเกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลสาบ การเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของผู้คนเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดชุมชนที่ขยายตัวไปรอบๆ เกาะ และได้สร้างสังคม วัฒนธรรม บนพื้นฐานความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อทางพุทธศาสนา จนพัฒนาเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีทางสังคมและวัฒนธรรมเฉพาะของ ชาวเกาะยอได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของบ้านเรือน วัด การทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา การเกษตรและอาหารการกิน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นความภาคภูมิใจที่ชาวเกาะยออยากให้นักท่องเที่ยวได้มารับ รู้ถึงคุณค่าแห่งวิถีชีวิตที่สงบสุขและวัฒนธรรมที่พวกเขาได้สืบสานมา




กิจกรรมท่องเที่ยวบริเวณเกาะยอ

           นั่งเรือหางยาวล่องทะเลสาบ เรียนรู้วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ชมธรรมชาติยามเช้ารอบๆ เกาะยอ ในทะเลสาบสงขลา ร่วมประสบการณ์กู้ไซ วางกัด ตกปลาแบบประมงพื้นบ้านของเกาะยอ 

           ขี่จักรยานเที่ยวสวนสมรม ชมเรือนไทยโบราณ เที่ยววัดท้ายยอ... ชมการทำสวนเกษตรแบบผสมผสาน ชิมผลไม้สดปลิดจากต้น ปลอดสารเคมี ลัดเลาะไปชมเรือนไทยโบราณ เรือนไทยภาคใต้เสาเรือนไม่ฝังดิน เที่ยววัดท้ายยอ ชมกุฏิเจ้าอาวาส เจดีย์บนเขาเพหาร และโบราณสถานที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง 

           ชมเรื่องราวชีวิตชาวใต้ที่พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา แหล่งจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะของชาวใต้ ด้วยพื้นที่จัดแสดงกว่า 30 ห้อง 

           เลือกซื้อ เลือกชิม สินค้าพื้นเมืองเกาะยอ มาถึงเกาะยอ อย่าลืมสนับสนุนงานหัตถกรรมล้ำค่า ผ้าทอเกาะยอ อาหารพื้นเมืองและผลไม้ที่ขึ้นชื่อ เช่น จำปาดะขนุน ละมุด มะพร้าวน้ำหอม และยำสาย (สาหร่ายผมนาง)


หาดทรายแก้ว                                                                                                                               



หาดทรายแก้ว เป็นหาดทรายที่สวยงามมากแห่งหนึ่งด้วยทิวทัศน์ชายทะเลที่มีหาดทรายยาวเกือบ 3 กิโลเมตรทรายเม็ดละอียดขาวเด่น ชายหาดกว้างเหมาะที่จะเล่นน้ำ ร่มรื่นด้วยแนวสนทะเลหลังหาดเป็นลำคลองเล็กๆทอดขนานไปกับทะเลถัดไปเป็นรีสอร์ทหรูซึ่งจัดภูมิทัศน์ได้สวยงามกลมกลืนกับธรรมชาตินับเป็นหาดทรายชายทะเลที่เพียบพร้อมสำหรับการพักผ่อนชมความสวยงามของธรรมชาติ หรือค้างคืนในบรรยากาศริมทะเลจะเป็นค่ำคืนที่แสนสุขคืนหนึ่งในชีวิตทีเดียว
อยู่ฝั่งทะเลตรงข้ามกับแหลมสนอ่อน อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไป 7 กม. ทางสายสงขลา-สทิงพระ เป็นถนนดินลูกรัง 2 กม. เป็นชายหาดที่มีความยาวประมาณ 3 กม. ที่ชายหาดแก้วมีที่พักบริการสำหรับนักท่องเที่ยว






หาดทรายแก้ว อีกหนึ่งหาดท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลา โดยชายหาดตั้งอยู่บริวเณฝั่งทะเลตรงข้ามกับแหลมสนอ่อน และอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองไป ประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายสงขลา-สทิงพระ เป็นถนนดินลูกรัง 2 กิโลเมตร 

หาดทรายแก้ว เป็นชายหาดที่มีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาดตา และมีลำคลองเล็กๆขนานกับแนวหาด ที่สำคัญคือน้ำทะเลหน้าหาดยังเหมาะแก่การ เล่นน้ำ เนื่องจากน้ำยังใสสะอาดมาก นอกจากนี้แล้วที่ชายหาดแก้วมีที่พักบริการสำหรับนักท่องเที่ยว



ศาลหลักเมือง                                                                                                 




เที่ยวชม ศาลหลักเมืองสงขลา
เมืองสงขลา เป็นเมืองที่เงียบสงบ ชาวเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย ต่างจาก หาดใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าของจังหวัด มีตึกเก่าโบราณที่ยังคงความสมบูรณ์สร้างแบบชิโน-โปรตุกีส ตามถนนนครใน นครนอก นางงาม และยะลา มีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นอาคารแบบจีน ตั้งอยู่ที่ถนนนางงาม สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลา และที่ถนนนางงาม ยังเป็นแหล่งอาหารพื้นเมืองและขนมไทย ๆ ฝีมือชาวบ้านให้เลือกซื้อหาเป็นของฝาก เช่น ขนมสัมปะนี ทองม้วน ทองพลั บ หรือเต้าฮวยที่ขายมากว่า 50 ปี ที่ตรงข้ามศาลหลักเมือง และยังมีข้าวตู ฝีมือดั้งเดิมให้ได้ลิ้มลองอีกด้วย
ศาลหลักเมืองสงขลา อยู่ที่ถนนนางงาม ชาวสงขลาเรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา" เป็นที่เคารพสักการะของชาวสงขลาตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลาอันทำให้บ้านเมืองใน ละแวกใกล้เคียงมีรูปทรงแบบสถาปัตยกรรมจีน
ประวัติ : ศาลหลักเมืองสงขลา ตั้งอยู่ที่ถนนนางงามเป็นโบราณสถานสมัยรัตนโกสินทร์ ลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบเก๋งจีน สร้างสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ภายในศาลเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ โดยมีความเป็นมา ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2385 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดการฝังหลักชัยเมืองสงขลา ทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยต้นหนึ่งกับเทียนชัยเล่มหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่าง ๆ และโปรดเกล้าฯ ให้พระอุดมปิฏกออกไปเป็นประธานด้านพุทธพิธี พร้อมด้วยฐานานุกรมเปรียญ 8 รูป และโปรดเกล้าณ ให้พระครูอัฏฏาจารย์พราหมณ์ออกไปเป็นประธานฝ่ายพิธีพราหมณ์ 8 นาย งานฝังหลักชัยเริ่มด้วยพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) เจ้าเมืองสงขลา ได้เกณฑ์กรมการและไพร่ จัดการทำโรงพิธีใหญ่ขึ้นกลางเมืองสงขลา คือ หน้าศาลเจ้าหลักเมือง ถนนนางงาม อำเภอเมือง โดยตั้งโรงพิธี 4 ทิศ ในวันพิธีได้จัดขบวนแห่หลักไม้ชัยพฤกษ์กับเทียนชัยเป็นขบวนใหญ่ มีทั้งพวกชาวจีนและ ชาวไทยเพื่อแห่ไปยังโรงพิธีพระสงฆ์ราชา คณะฐานานุกรมเจริญพระปริตร พร้อมกับพระครูสวดตามไสยเวท เมื่อได้เวลาอุดมฤกษ์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1204 (พ.ศ.2385) เวลา 7 นาฬิกา 10 นาที ตรงกับวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กับพระครูอัษฏาจารย์ พราหมณ์ อัญเชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังที่ใจกลางเมืองสงขลา ซึ่งเรียกกันว่า หลักเมืองจนทุกวันนี้ ภายหลังการฝังหลักเมืองเสร็จตามพิธีแล้ว มีมหรสพสมโภช 5 วัน 5 คืน ในงานมีทั้งละครหรือโขนร้อง 1 โรง หุ่น 1 โรง งิ้ว 1 โรง ละครชาตรี (โนรา) 4 โรง พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระพระสงฆ์ 22 รูป ต่อมาพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้ให้ช่างสร้างตึกคร่อมหลักเมืองไว้ 3 หลังเป็นตึกจีนและสร้างศาลเจ้าเสื้อเมืองอีกหนึ่งหลัง ครั้น พ.ศ. 2460 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้มีลายพระหัตถ์แจ้งว่าหลักเมืองจังหวัดสงขลาปลวกกัดชำรุด พ่อค้าและประชาชนจังหวัดสงขลา จะช่วยกันออกเงินทำเสาหลักเมืองด้วยซีเมนต์คอนกรีต เพื่อจะได้อยู่อย่างถาวร อุดมฤกษ์ในการวางเสาหลักเมือง ตรงกับวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2460 ตรงกับเดือน 4 แรม 4 ค่ำ เวลา 7 นาฬิกา 22 นาที 36 วินาทีก่อนเที่ยง โหรสี่คนถือก้อนดินยืนประจำทั้ง 4 ทิศ แล้ววางก้อนดินลงในหลุมหลักเมือง จากนั้นจึงเชิญเสาหลักลงหลุมแล้วกลบดินเป็นปฐมฤกษ์ จนถึงเวลา 8 นาฬิกา กับ 41 นาที 36 วินาที ก่อนเที่ยง ถือเป็นฤกษ์ดีที่สุด (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ,2460: ม. 12/19) เสาหลักเมืองนี้จึงอยู่คู่เมืองสงขลา และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสงขลา ตราบจนทุกวันนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลเจ้าหลักเมืองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 โดยมีอาณาเขต คือ ทิศเหนือ ยาว 13 วา ทิศตะวันออก ยาว 1 เส้น 5 วา ทิศใต้ ยาว 13 วา ทิศตะวันตก ยาว 1 เส้น 5 วา



























แหลมสมิหลา                                                                                                                       





       ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวสำหรับ "สงขลา" เพราะตลอดปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมาเลเซียที่มักเดินทางแวะเวียนมาสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งชายทะเล ทะเลสาบ ป่าไม้ และน้ำตก อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงการเดินทางมาช้อปปิ้งในอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยว "หาดสมิหลา" ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเมืองสงขลาก็ว่าได้ 




         หาดสมิหลา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดทรัพย์สิน (ตลาดสดเทศบาล) ประมาณ 2.5 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสนอันร่มรื่น บริเวณชายหาดจะมีรูปปั้นนางเงือกอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยรูปปั้นแมวและหนูที่บอกเล่าตำนานของเกาะหนูเกาะแมว โดยรอบบริเวณได้จัดสวนหย่อมไว้ดูร่มรื่นเหมาะเป็นที่นั่งพักผ่อนยามเย็น มีทางวิ่งออกกำลังกาย รวมทั้งจุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของ เกาะหนูเกาะแมว เป็นฉากหลัง

          เกาะหนูเกาะแมว เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของแหลมสมิหลา ที่มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า มีพ่อค้าชาวจีนผู้หนึ่งคุมเรือสำเภาเดินทางมาค้าขายระหว่างจีนกับสงขลาเป็นประจำ วันหนึ่งพ่อค้าผู้นี้ได้ซื้อหมากับแมวลงเรือไปเมืองจีนด้วย หมากับแมวอยู่บนเรือนาน ๆ เกิดความเบื่อหน่าย จึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมากับแมวได้ทราบว่าพ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษที่ทำให้ไม่จมน้ำ แมวจึงคิดอุบายโดยให้หนูไปขโมยแก้ววิเศษของพ่อค้ามา และหนูขอหนีขึ้นฝั่งไปด้วย 





          ทั้งสามว่ายน้ำหนีลงจากเรือโดยที่หนูอมดวงแก้วเอาไว้ในปาก ขณะนั้นหนูนึกขึ้นได้ว่าถ้าถึงฝั่ง หมากับแมวคงจะแย่งเอาดวงแก้วไปจึงคิดที่จะหนี ฝ่ายแมวซึ่งว่ายตามหลังมาก็คิดเช่นกัน จึงว่ายน้ำรี่ไปหาหนู หนูตกใจว่ายน้ำหนีไม่ทันระวังตัว ดวงแก้ววิเศษที่อมไว้จึงตกลงจมหายไปในน้ำ หนูและแมวต่างก็หมดแรงจมน้ำตายกลายเป็น "เกาะหนูเกาะแมว" อยู่ที่อ่าวหน้าเมือง ส่วนหมาตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่งและสิ้นใจตายด้วยความเหน็ดเหนื่อย และกลายเป็นหินบริเวณ "เขาตังกวน" อยู่ริมอ่าวสงขลา ดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูแตกละเอียดกลายเป็น "หาดทรายแก้ว" อยู่ทางด้านเหนือของแหลมสน

          การเดินทาง

          จากอำเภอหาดใหญ่สามารถใช้บริการรถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในอำเภอเมืองก็มีรถสองแถวบริการไปชายหาด





สะพานติณสูลานนท์                                                                                                                       




     สะพานข้ามทะเลสาบที่ยาวที่สุด สะพานติณสูลานนท์ ที่ชาวสงขลานิยมเรียกว่า สะพานติณ สะพานเปรม หรือสะพานป๋าเปรม นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ จ.สงขลา สร้างขึ้นในสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การเดินทางต้องใช้เวลานาน ทั้งเมื่อข้ามฝั่งมาแล้วก็ยังทำให้การจราจรติดขัดในตัวเมืองอีกด้วย ในปี พ.ศ.2524 รัฐบาลจึงมีนโยบายจะพัฒนาสงขลา และหาดใหญ่ให้เป็นเมืองหลัก โดยกรมทางหลวงเป็นเจ้าของโครงการ และบริษัทจากประเทศไต้หวันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง สะพานแห่งนี้ได้เปิดให้ใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2527

     สะพานติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 4146 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงหมายเลข 4083 (ระโนด-เขาแดง) กับทางหลวงหมายเลข 407 (สงขลา-หาดใหญ่) สะพานแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยเชื่อมเกาะยอทั้ง 2 ด้าน ช่วงแรกเชื่อมระหว่างชายฝั่ง บ้านน้ำกระจาย อ.เมืองสงขลา กับตอนใต้ของเกาะยอ และช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างตอนเหนือของเกาะยอกับชายฝั่ง บ้านเขาเขียว อ.สิงหนคร ความยาวของสะพาน 940 เมตร และ 1,700 เมตร ตามลำดับ รวมทั้งสองตอนมีความยาวทั้งสิ้น 2,640 เมตร นับเป็นสะพานคอนกรีตข้ามทะเลสาบที่ยาวที่สุดในประเทศไทย









แหลมสนอ่อน                                                                                                                           






         อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมสมิหลา ร่มรื่นไปด้วยทิวสนทะเล บริเวณปลายแหลมเป็นที่ ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามของทะเลสาบ สงขลามีสถานที่สำหรับรับประทานอาหารในบริเวณนั้น ทะเลสาบสงขลา ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบ ธรรมชาติแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติด กับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะ แก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้ บริเวณท่า เรืออยู่หลังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสด จะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน





        แหลมสนอ่อน อยู่บริเวณแหลมสมิหลา ร่มรื่นไปด้วยทิวสนทะเล บริเวณปลายแหลมเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล จังหวัดสงขลา ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอันเกี่ยวเนื่องกับการปกครอง ร่วมกับกองทัพเรือ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อให้ชาวเรือได้สักการะบูชาก่อนออกไปประกอบอาชีพในทะเล บริเวณแหลมสนอ่อนมีประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ประติมากรรมพญานาคนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนตั้งอยู่สถานที่ต่างกัน ส่วนหัวอยู่ที่แหลมสนอ่อน ส่วนลำตัวหรือสะดือพญานาคอยู่ที่แหลมสมิหลา ส่วนหางอยู่ที่ถนนชลาทัศน์-หาดสมิหลา จากแหลมสนอ่อนสามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามของทะเลสาบสงขลา และมองเห็นเกาะหนูได้ใกล้และชัดที่สุด รอบ ๆ บริเวณมีที่นั่งพักผ่อนยามเย็นสำหรับประชาชน




เขาตังกวน                                                                                                     





     อยู่บริเวณแหลมสมิหลา มีศาลาวิหารแดงซึ่งเป็นพลับพลาที่ประทับสร้างในสมัยรัชกาลทื่ 5 เพื่อถวายตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 4 และบนยอดเขามีพระธาตุเจดีย์คู่เมืองสงขลาสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ในทุกปีจะมีพิธีห่มผ้าองค์เจดีย์และประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว ซึ่งจัดเป็นประจำในเดือนตุลาคม เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาตังกวนแล้ว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทะเลสาบสงขลาได้อย่างชัดเจน   






      เขาตังกวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในอ.เมือง จ.สงขลา    เป็นเนินเขาสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต จากยอดเขาตังกวนนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาได้โดยรอบ บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมือง สงขลาซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี(อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต ) โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ได้พระราชทานเงินหลวงให้เป็นทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์ และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ได้ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้มาบรรจุในองค์พระเจดีย์ ใน ทุกๆ ปีในเดือนตุลาคม จะมีงานพิธีห่มผ้าองค์พระเจดีย์ และประเพณีตักบาตรเทโวและลากพระของสงขลา








เขาน้อย                                                                                                          



"พระตำหนักเขาน้อย"

"เขาน้อย" อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นที่ตั้งของวัดเขาน้อยเทียมสวรรค์ วัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญของจังหวัดสงขลา ภายในวัดมีพระอุโบสถหลังเก่าสร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง

     ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป 2 องค์ ประทับนั่งหันหลังให้กัน เป็นพระที่สร้างด้วยศิลาแลง ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อเขาน้อย และเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์

     นอกจากนี้แล้ว บนเขาน้อยยังเป็นที่ตั้งของ "พระตำหนักเขาน้อย" ซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาน้อยทางทิศใต้ ถนนสะเดา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2454 เพื่อเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้ายุคลฆัฆมพร ( กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมเด็จอุปราชมณฑลปักษ์ใต้

     และยังเคยใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ในคราวเสด็จเยี่ยมราษฏรในจังหวัดภาคใต้ เมื่อเดือนมีนาคม 2502 ปัจจุบันใช้เป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัด
 







อยู่ใกล้กับแหลมสมิหลา มีถนนราดยางขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองสงขลา เชิงเขาน้อยทาง ทิศตะวันออกจัดเป็นสวนสาธารณะไว้สำหรับพักผ่อน มีร้านอาหารบริการพร้อมสนามเทนนิสสำหรับ ผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย เชิงเขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสวนเสรี มีไม้ประดับตกแต่งเป็น รูปสัตว์ต่างๆ บนยอดเขาน้อยเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ 



นี่ก็เป็น 9 อันดับสถานที่ที่น่าสนใจของจังหวัดสงขลาอย่าลืมมาเยี่ยมจังหวัดของเรานะ